คนที่ขยันในหน้าที่ ไม่ประมาท เอาใจใส่สอดส่อง ตรวจตรา จัดการงานให้เรียบร้อย เป็นอันดี จึงควรเข้ารับราชการ  






USB FLASHDRIVE สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

•วรรณกรรมธรรมะ ที่ควรค่าต่อการครอบครอง
•ลิขสิทธิ์ของแท้
.รวมผลงานทั้งหมด 11 ชุด พร้อมบทเพลงธรรมะอันทรงคุณค่าอีก 1 ชุด รวมเป็น 12 ชุด อยู่ใน usb ไม้พร้อมกล่องไม้อย่างดี
•สกรีนเลเซอร์ลายเซนต์จากอาจารย์
สุทัสสา อ่อนค้อม
•รับประกันสินค้านาน 5 ปี
•มีบริการเก็บเงินปลายทาง

ราคารวมส่งแบบโอนเงิน 1550 บาท
แบบเก็บเงินปลายทาง 1580 บาท

(มีจำหน่ายเสียงอ่านโดย เพ็ญศรี อินทรทัต ด้วยเช่นกัน ลูกค้าสามารถระบุได้)
สนใจติดต่อทางไลน์ middleway



  บทสัมภาษณ์
การเขียน เป็นเพียงหนทางหนึ่งในการบอกเล่าความรู้และความคิดของคนคนหนึ่ง ซึ่งในการเขียนแต่ละครั้งจะมีคุณค่าต่อผู้่อ่านมาก เพียงใด ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของผู้อ่าน และขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้เขียน " ให้ " กับเรา อาจเป็นสาระ อาจเป็นความรู้ หรืออาจเป็นความ บันเทิงและสิ่งประโลมใจ แต่งานเขียนของ ดร. สุจิตรา อ่อนค้อม มีความหมายมากกว่านั้น ด้วยเป็นงานเขียนที่ ช่วยชี้แนะให้เห็นทางของการดำเนินชีวิตอย่างพุทธศาสนิกชน เป็นงานเขียนรับใช้พระพุทธศาสนา ที่หากผู้อ่านเปิดใจเพื่อรับรู้และ ทำความเข้าใจกับสิ่งที่ อาจารย์บอกแล้ว ย่อมได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน ทุกวันนี้ชื่อของ ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม หรือในนามปากกาว่า สุทัสสา จึงไม่เพียงประสบความสำเร็จในฐานะนักเขียนในประเทศไทย หากมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก จากการชนะเลิศการประกวดบทความสันติภาพโลกเมื่อปีที่ผ่านมา หนังสือของอาจารย์ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา

แต่กว่าจะมาถึงวันแห่งความสำเร็จเช่นนี้ อาจารย์ต้องใช้ความมานะพยายามมาไม่น้อยเลย และนี่คือสิ่งที่อาจารย์เล่าให้เราฟัง ถึงเส้นทางการเป็นนักเขียน นับจากวันแรกจนถึงปัจจุบัน

"ดิฉันเริ่มสนใจเรื่องการเขียนมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนนั้นอ่านหนังสือสกุลไทย แล้วก็ใฝ่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ว่าอยากเป็นนักเขียน ก็เริ่มลงมือเขียนนะค่ะ แต่เขียนแล้่วก็ทิ้ง เขียนแล้วก็ทิ้ง ไม่ได้เก็บเอาไว ้เลยจนวัน หนึ่งพี่สาวมาขโมยอ่าน แ้ล้วเขาก็ว่าดิฉันว่า เรื่องที่ดิฉันเขียนลอกมาจาก "ไผ่ลอดกอ" ของเพ็ญแข วงศ์สง่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ลงในสกุลไทยสมัยนั้น ดิฉันก็ดีใจ เพราะเราไม่รู้หรอกว่ามันเหมือนกัน ไม่เคยอ่านเรื่องนี้เลย ตอนนั้นยังไม่รู้จักคุณเพ็ญแขด้วย ก็เลยดีใจว่า เราไม่เคยอ่านไผ่ลอดกอนะ เราเขียนของเราเองแต่มันไปเหมือน แสดงว่าเราก็มีแววนะก็เก็บความดีใจไว้เงียบ ๆ แล้วก็เขียนเล่นมาเรื่อย ๆ ไม่ได้เป็นเรื่องเป็นราว"

"จนเมื่อปี 2515 ตอนที่เรียนอักษรศาสตร์ จุฬา ชั้นปีที่ 4 ตอนนั้นดิฉันจะไปเรียนพระพุทธศาสนาที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทุกวันอาทิตย์ เรียนกับ ท่านเจ้าคุณธัมมสาโรภิกขุ (ภายหลังได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระราชบัณฑิต) ทุกคนจะเรียกท่านว่าหลวงตานะคะ ท่านเป็นชาวเมืองระยอง และเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ท่านจะเขียนกลอนธรรมะ เขียนคอลัมน์ธรรมะลงในนิตยสาร ศรีสัปดาห์ ซึ่งมี หม่อมหลวงจิตติ นพวงศ์ เป็นบรรณาธิการ หลวงตาท่านมีคอลัมน์ประจำเกี่ยวกับธรรมะลงอยู่ ก็เลยลองเขียนเรื่องแรกส่งไปให้หลวงตา ตอนนั้นเขามีการประกวดร้องเพลงทาง ทีวี ดิฉันก็เิอามาเขียนว่าตนเองเป็นนางเอกไปประกวดร้องเพลงได้รางวัลมาเป็นค่าเรียนอะไรอย่างนี้ แต่ไม่ได้ตั้งชื่อเรื่อง ใช้นามปากกาว่า สุทัสสา ปรากฏว่าพอให้หลวงตาอ่าน ท่านก็เอาไปลงศรีสัปดาห์ให้เลย แล้วก็ตั้งชื่อเรื่องให้ตามชื่อนางเอกว่า พรสวรรค์ฟ้าประทาน ดิฉันดีใจใหญ่เลย พอได้ค่าเรื่องมาหนึ่งร้อยบาทก็เอามาเลี้ยงเพื่อนหมด"

"ต่อมาก็เขียนเรื่องใหม่อีกเรื่องหนึ่ง เนื้อเรื่องว่านิสิตจุฬา สอบตก โดนรีไทร์ แล้วก็ไปฆ่าตัวตาย ส่งไปที่ศรีสัปดาห์อีก แต่คราวนี้ไม่ได้ลง เพราะว่า บ.ก. ไม่ต้องการให้เรื่องจบลงด้วยการฆ่าตัวตาย ท่านว่า สำนวนดีนะ ของให้เปลี่ยนตอนจบเท่านั้้น แต่ว่าช่วงนั้นเรียนหนักไม่มีเวลาแก้ก็เลยไม่ได้ลงน่ะค่ะ ไม่มีเวลาทำ แต่ที่จริงส่วนหนึ่งที่ไม่แก้เพราะตอนนั้นมีอัตตาสูงพอสมควร รู้สึกว่าไม่เอาหรอก ก็เขียนอยากให้จบแบบนี้ ก็เลยไม่แก้ ก็เลยไม่ได้ลง"

"หลังจากเรียนจบ ถัดไปอีก 10 ปี ตอนนั้นสอนอยู่ที่วิทยาลัียครูอุตรดิตถ์ ถึงได้เขียนเรื่องที่สอง ใช้ชื่อเรื่องว่าศาลเตี้ย เอาชีวิตตัวเองมาเขียน ตอนนั้นมีคดีความอยู่ที่บ้านถูกเขาโกง แต่เขาร่ำรวยกว่า เขาใช้เงินสู้คดี ส่วนเราไม่มีเราก็แพ้ พอเราแพ้ศาลก็แค้นใจ เลยจินตนาการผูกเรื่องขึ้นมาว่าในเมื่อเราแพ้ศาลทั้งที่เราเป็นฝ่ายถูก เราเลยเอาปืนไปยิงคนนั้นให้ตาย เรื่องนี้เขียนตั้งแต่ 2524 ส่งไปที่สกุลไืทย ปรากฎว่าที่นั่นเขามีคิวยาวมาก จนปี 2525 ดิฉันแต่งงานแล้วย้ายตามสามีเข้ากรุงเทพฯ มีน้องที่จบอักษรโทรมาบอกว่าเรื่องนี้จะได้ลงในเดือน ก.พ. 2525 คราวนี้ได้ค่าเรื่้องสองพันบาท เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สอง ที่ได้้ลง โอ้โห้ ดิฉันดีใจมาก จำได้ว่าวันนั้นเดินไปซื้อหนังสือกุลสตรีที่สามย่าน เจอขอทานก็ให้เงินขอทานไปตั้งสิบบาท ขอทานงงเลยว่า ทำไมให้เยอะเพราะตอนนั้นกำลังดีใจมากนะค่ะ"

"พอหลังจากนั้นก็เขียนมาเรื่อย ๆ มีหนังสือที่ไหนรับเรื่องสั้น ดิฉันก็ส่งไปทุกเล่มเลย เรื่องที่สามที่ได้ลงคือ น้ำหอมกลิ่นกุหลาบ ลงใน หนังสือเดลิเมล์วันจันทร์ แล้วก็ได้ลงที่สกุลไทยอีกหลาย เรื่อง เป็นเรื่องสั้นตลอดเลย ลงในหนังสือลลนา ดิฉัน หนังสือวรา ตอนหลังได้เขียนลงกุลสตรีด้วย"

"แต่ที่ส่งไปแล้วไม่เคยได้ลงเลยคือ สตรีสาร กับฟ้าเมืองไทย บ.ก. สตรีสาร คือ คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง เคยให้ข้อเสนอแนะมานะค่ะว่าเรื่องของดิฉันนั้นสำนวนดีอะไรดีหมด แต่เรื่องมันไม่ตื่นเต้นส่วนอาจารย์อาจิณ ปัญจพรรค์ บ.ก. ฟ้าเมืองไทยท่านก็เขียนมาให้กำลังใจ แต่ที่ไม่ได้ลงเพราะเรื่องที่ส่งไปไม่ตรงกับแนวของหนังสือฟ้าเมืองไทย ซึ่งเน้นไปในเชิงบู๊ ทรหดแบบลูกผู้ชาย เลือดนักสู้อะไรทำนองนี้"

"ดิฉันเขียนเรื่องสั้นมาทั้งหมด 13 เรื่อง แล้วก็หยุด เริ่มมาเขียนเรื่องยาว ที่เขียนเป็นเรื่องแรกเลย คือ คนเหมือนกัน เป็นเรื่องที่แปลงมาจากเรื่อง ราคาชีวิต ที่เป็นเรื่องสั้นเคยลงในกุลสตรีแล้ว บ.ก. บอกว่าดีมาก ดิฉันก็เอามาขยายเป็นเรื่องยาว 20 ตอนจบ แล้วก็พิมพ์รวมเล่มเองครั้งแรกประมาณปี 2526 หรือ 2528 จำไม่ได้นะคะ แต่เรื่องนี้ไม่ดังเท่าไร เพราะเรื่องนี้เราพิมพ์รวมเล่มเิองโดยที่ไม่เคยลงในวารสารมาก่อนเลย แต่ตอนนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ 5 นะคะ"

"หลังจากนั้นดิฉันก็เขียนเรื่อง ไฟไหนเล่าร้อนเท่าไฟนรก เป็นเรื่องสั้นขนาดยาว สิบสองตอนจบส่งไปที่นิตยสารกุลสตรี หลังจากส่งเรื่องสั้นขนาดยาวไปที่กุลสตรี พอลงไปได้สักตอนสองตอนจดหมายจากผู้อ่านเข้ามาเยอะมากเลยค่ะ คนชอบมาก จน บ.ก. คือ คุณยุพา งามสมจิตร มาดูตัวที่บ้านเลย แล้วบอกว่าให้พล็อตเรื่องใหม่ได้แล้ว ดีใจมากเลยค่ะ ก็คิดว่า เอ จะพล็อตเรื่องอะไรดี ทีนี้นึุกว่าเขียนเรื่องนรกแล้ว เอาเรื่องสวรรค์บ้างก็แล้วกัน แต่ก็นึกอีกว่าเรื่องสวรรค์จะไม่ค่อยมีคนเชื่อกัน เราก็มีข้อมูลมากพอสมควร แต่ก็ยังไ่ม่เอาดีกว่า เราอย่าเขียนอย่างนั้นเลย ก็ยังตัดสินใจไม่ได้"

"พอดีช่วงนั้นมีเหตุวิกฤติเกิดขึ้นในชีวิตด้วย คือเมื่อปี 2530 ดิฉันสอบเรียนปริญญาเอกสาขาปรัชญาได้ ที่จุฬาฯ เรียนไปได้ 1 ปี ก็ถูกรีไทร์ ตอนนั้นเสียใจมากนะคะ่ แต่มีรุ่นน้องคือ ดร. รุ่งธรรม สุจิธรรมรักษ์ มาปลอบใจว่า 'ถ้าผมมีความสามารถในการเขียนอย่างพี่นะ ผมไม่เรียนหรอกปริญญาเอกน่ะ ผมจะเขียนนิยาย จะเอาดีทางนี้ไปเลย' ดิฉันก็รู้สึกได้กำลังใจ จนวันหนึ่งก็เหมือนมีเสียงในใจบอกว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ก็เลยเขียนเรื่องนี้"

"พอเขียน สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ลงในกุลสตรีไปได้สัก 2 - 3 ปักษ์ ก็มีจดหมายมาเยอะมากเลยค่ะ ดิฉันก็เขียนเพลินมาก เขียนจนลืมตัวละคร ลืมจบ ลืมอะไรไปหมดเลย จนเรื่องนี้ยาวไปถึง 80 บท รวมเล่มนี่ต้องทำเป็นสองเล่มนะคะ แต่ก็ขายดีมาก บางทีมีคนมาขอพิมพ์โดยที่เราไม่ได้แจ้งครั้งที่ เขาก็เอาเพลทเก่าพิมพ์ เรื่องนี้คนติดกันมากเลย ทุกวันนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วค่ะ"

"เรื่องนี้เขียนจากชีวประวัติและงานเผยแผ่ศาสนธรรมของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม หรือปัจจุบัน คือ พระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี เหตุการณ์ในเรื่องนี้ก็จะเริ่มตั้งแต่ปี 2516 ซึ่งมีเหตุการณ์ 14 ตุลา แล้วมาจบที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ คอหัก เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2521 ปรากฏคนติดมากเลย พอจบแล้วก็ต้องเขียนต่อเพราะหลายคนเข้าใจว่าท่านมรณภาพไปแล้ว และคนก็ถามถึงกันมากเลยอยากจะอ่านต่อ"

"ถ้าจะอ่านต่อตามเหตุการณ์ ก็ต้องอ่านเรื่องวัฏจักรชีวิต ซึ่งในเรื่องนี้จะเปิดเผยว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อรถคว่ำแต่ไม่ได้มรณภาพนะ แต่ว่าตอนที่เขียนจริง ๆ ไม่ได้เขียนเรื่องนี้ก่อน เพราะตอนนั้นมีข่าวฮือฮาเรื่องมักกะลีผล หรือว่านารีผล เนื่องจากท่านมีมักกะลีผลอยู่แล้วนักข่าวมาเจอแล้วเอาไปลงหนังสือพิมพ์ ก็กลายเป็นเรื่องฮือฮามาก ทีนี้พออะไรกำลังดังเราก็เขียนเรื่องนั้นก่อน ก็เลยเขียน เรื่อง มักกะลีผล ขึ้นมา เอาประวัติของหลวงพ่อมา เป็นฉาก เริ่มตั้งแต่ปี 2477 หลวงพ่ออายุ 6 ขวบ จนกระทั่งถึงบวชอยู่ที่วัดพรหมบุรีแล้วกำลังจะย้ายมาอยู่ที่วัดอัมพวัน ปรากฏว่าเขียนเพลินอีกแล้ว เพราะชีวประวัติของพระเดชพระคุณหลวงพ่อมีเรื่องราวเยอะมาก จนยาวไป 96 ตอน จน บ.ก.ต้องบอกว่าอาจารย์เยอะไปแล้วนะจบได้แล้ว ก็เลยต้องจบ แต่เหตุการณ์มันยังมาต่อกับตอนต้น ของสัตว์โลกฯ ไม่ได้ เพราะเรื่องจะต้องมาต่อกันให้ได้ ปี 2516 แต่มันจบแค่ปี 2500 เท่านั้นเอง สุดท้ายก็เลยต้องเขียนต่อเรื่องเดิม แต่เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น นารีผล ซึ่งก็เป็นเริ่มตั้งแต่ปี 2500 ไปจนจบในปี 2516 พูดถึงประวัติของหลวงพ่อตั้งแต่มาิอยู่ที่วัดอัมพวันว่า ท่านสร้างอะไรบ้าง ออกธุดงค์ การพบกับหลวงพ่อในป่า การใช้กรรมที่ทำไว้สมัยเมื่อเป็นเด็ก ฯลฯ"

"แต่ทีนี้คนไปติดเรื่องสัตว์โลก ฯ กันมาก แล้วก็ไม่ค่อยรู้จักสองเรื่องนี้ พอดีมี รศ.ดร.ธวัชชัย บุญโชติ อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านอ่านเรื่องสัตว์โลกฯ แล้วชอบมาก ก็เที่ยวสืบหาเบอร์โทรของดิฉัน จนไปได้เบอร์จาก 1133 เขาก็โืทรมาคุยด้วยตั้งนานสองนาน ดิฉันบอกท่านว่าตอนนี้เขียนถึง นารีผล แล้ว ท่านก็เลยไปหามาอ่าน แล้วก็มาบอกว่า ผมอ่านแล้วนะแล้วผมก็เอาไปให้เพื่อนที่ธรรมศาสตร์อ่านด้วย เพื่อนบอกว่าเรื่องนี้ดีกว่าสัตว์โลกฯ อีก ดิฉันก็ว่าดีกว่าเชียวหรือ แต่ทำไมเรื่องนี้ขายไม่ดีล่ะ เพิ่งพิมพ์ไปได้ครั้งเดียวเอง ท่านเลยแนะว่าให้เปลี่ยนชื่อเป็นสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม แล้วจะเป็นชื่ออะไรก็ใช้เขียนถัดลงไปอีก 1 บรรทัด เช่น ธรรมนิยายชุดสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม บรรทัดต่อมาก็เป็น มักกะลีผล อะไรอย่างนี้"

"พอเขียนนารีผลจบก็มาต่อเหตุการณ์กับสัตว์โลกฯ ได้ จากนั้นก็เริ่มเขียน วัฏจักรชีวิต ตอนนี้ก็เขียน มาได้ 33 ตอนแล้วนะคะ แต่ดิฉันเป็นคนที่มีปัญหาในการเขียน ดิฉันเขียนยาวมาก พิมพ์รวมเล่มออกมาเรื่องหนึ่งสองเล่ม คนอ่านก็จะเสียเงินมาก บ.ก. ก็แนะว่าให้เขียนทีละเล่ม เพราะที่เคยเขียนมาแต่ละเรื่องยาวมาก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม 80 บท มักกะลีผลกับนารีผล อีกเรื่องละ 96 บท ทีนี้ต่อไปวัฏจักรชีวิตจะเหลือ 48 บทจบแล้ว แล้วค่อยเปลี่ยนเรื่องใหม่ และจากนี้จะพิมพ์เป็นเล่มเดียว ๆ แล้ว แต่จะใช้ชื่อเดียวกันหมด คือ ธรรมนิยายชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"

"นอกจากนี้เขียนหนังสือแล้วดิฉันยังมีงานวิชาการที่ต้องทำอีกมากมาย เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ด้วย เป็นกรรมการทำหลักสูตร แปลหนังสือ ฯลฯ และมีงานที่ทำอยู่โดยไม่เป็นทางการอีกสองงานใหญ่ ๆ งานหนึ่งคือ เป็นที่ปรึกษาโครงการพระไตรปิฎกอักษรโรมัน ฉบับฉัฏฐสังคีติ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชทานไปยังห้องสมุดของสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 1000 ชุด ชุดหนึ่งมี 40 เล่ม ส่วนอีกงานคือ งานทำหนังสือของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ซึ่งเราจะนำคำสอนของท่านมาถอดเทปพิมพ์เป็นหนังสือถวายท่านทุกวันที่ 15 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของท่าน ปีละ 1 เล่ม ทำมาตั้งแต่ปี 2530 ถึงตอนนี้ 2546 ก็เป็นเล่มที่ 17 แล้ว"

"การทำหนังสือของพระเดชพระึุคุณหลวงพ่อ ตั้งแต่เล่มแรกถึงปัจจุบัน ดิฉันจะเป็นบรรณาธิการ เมื่อก่อนงานยังไม่มากก็จะอ่านทั้งเล่ม คือนอกจากคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อแล้วก็ยังมีงานเขียนของลูกศิษย์ประสบการณ์การปฏิบัติธรรม ของ ลูกศิษย์ ทีนี้ยิ่งทำไป เล่มก็จะอ้วนขึ้น ๆ ดิฉันเริ่มอ่านไม่ไหว ก็จะรับผิดชอบตรวจเฉพาะส่วนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พันเอกพิเศษทองคำ ศรีโยธิน ซึ่งเป็นประธานคณะบรรณาธิการเขียนคำนำให้"

"ทีนี้พอต่อมาเกิดมีฝรั่งมาสนใจ อยากรู้ว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อสอนอะไร ดิฉันเลยเริ่มต้นแปลหนังสือ กฏแ่ห่งกรรม ธรรมปฏิบัติ เล่ม 1 ของท่านเป็นภาษาอังกฤษ งานนี้เป็นบรรณาธิการเองเลย ตอนนี้ก็พิมพ์เป็นครั้งที่ 5-6 แล้ว ได้รับความสนใจมากค่ะ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัย Wright's ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นั่นติดต่อผ่านทาง รศ. ดร. พินิจ รัตนกุึล ซึ่งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ดิฉันเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาสมาธิในศาสนา อาจารย์พินิจก็พาศาสตราจารย์จากที่นั่นมาสัมภาษณ์หลวงพ่อ เขาก็สนใจมากเลย แล้วก็อนุญาตแปลงานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นภาษาอังกฤษ"

"พอแปลก็เกิดปัญหา มีอุปสรรคตรงที่หาคนแปลไม่ได้ เพราะว่าคนที่จะมาแปลนี้จะต้องมีคุณสมบัติคือ หนึ่ง ต้องเคยปฏิบัติธรรมเป็นลูกศิษย์พระเดชพระคุณหลวงพ่อ สอง จะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษ สาม ต้องมีความรู้ภาษาไทย แล้วก็จะต้องมีความรู้ศัพท์ทางพระพุทธศาสนาด้วย เป็นอันว่าเขาเอาไปแปลแล้วทำไม่สำเร็จ เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจ พระเดชพระคุณหลวงพ่อก็เลยยกงานตรงนี้มาให้ดิฉันแปล ตอนหลังก็มีคนอื่น ๆ มาช่วยแปลด้วย ตอนนี้ที่พิมพ์เป็นเล่มแล้วก็มีเล่ม 1 เล่ม 2 เล่ม 3 เล่ม 7 ส่วนเล่ม 4 เล่ม 5 เล่ม 6 เล่ม 8 อยู่ระหว่าง การตรวจ ผู้ช่วยแปลมีสามท่าน คือ ดร.นราพร รังสิมันตกุล คุณอรุณี ศิริวัฒน์ ผู้ตรวจคืออาจารย์ Donald W. Sandage"

"อันที่จริงกว่าจะประสบความสำเร็จได้ ทุกอย่างใช้เวลาก่อตัว อย่างการที่ดิฉันต้องทำงานเขียนทางศาสนา ก็ทำให้ได้เรียน ได้ค้นคว้าพระไตรปิฎก ค้นคว้าอรรถกถา จนได้มาเปิดคอลัมน์ ศาลาธรรมโอสถ ที่กุลสตรี ได้ตอบปัญหาท่านผู้อ่าน ซึ่งก็เป็นปัญหาชีวิตบ้าง ปัญหาธรรมะบ้าง ก็ทำให้ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่เสมอ ซึ่งปกติก็จะค้นคว้าอยู่แล้วตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาโท ปริญญาเอก คือหลังจากที่รีไทร์ไปแล้วตอนหลังดิฉันก็ได้ทุนจากอินเดีย ไปเรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศอินเดีย การไปเรียนที่นั่นทำให้พบขุมทรัพย์อันมหาศาลอย่างหาประมาณมิได้ ความรู้ทางพระพุทธศาสนาเราจะแน่น อีกอย่างคือเรื่องการปฏิบัติธรรม ดิฉัีนได้รู้จักหลวงพ่อเป็นครั้งแรกเมื่อไปปฏิบัติธรรม ปี 2526 ตรงนั้นเป็นจุดเริ่มในทางปฏิบัติ ทุกอย่างก็สะสม ฟักตัวมานาน การที่เป็นนักเขียนได้ก็เพราะจุดนี้"

"การทำคอลัมน์ ศาลาธรรมโอสถ เป็นงานที่ดิฉันชอบมากจริง ๆ เพราะได้ใช้ความรู้ีความสามารถเต็มที่ และจะได้ช่วยแก้ไขในการที่คนเข้าใจพระพุทธศาสนาผิด ๆ เช่น การเชื่อโชคลางอะไรอย่างนี้ ดิฉันจะตอบคอลัมน์โดยยึดพระไตรปิฎกหมดเลย เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องและแท้จริงกับคนอ่าน"

"ที่มาของการส่งบทความเข้าประกวดจนได้รับรางวัล คือเมื่อปีที่แล้ว ประมาณเดือนกรกฎาคม ดิฉันไปสอนที่วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลตามปกติ ดร.พินิจ ท่านก็ให้เจ้าหน้าที่เอาโน้ต มาให้ แจ้งว่าเพื่อนที่แคนาดาส่งเมลมา บอกว่าเขามีการประกวดเขียนเกี่ยวกับสันติภาพอย่างนี้ ๆ ถ้าอาจารย์สนใจก็เขียนไป ดิฉันเอาอ่านแล้วก็เฉย ๆ ไม่คิดจะเขียน เพราะเราไม่มีเวลา และมันก็คงเป็นเรื่องที่ยากมากเลย เพราะเขาตั้งรางวัลไว้ตั้งหนึ่งแสนดอลลาร์ มันก็ต้องเป็นเรื่องที่ยากมาก ดิฉันอ่านกติกาเขาให้เขียนขนาดตัวพิมพ์ 12 point ความยาวประมาณ 50-70 หน้า A4 มันก็เท่ากับหนังสือเล่มหนึ่งละ ดิฉันก็ไม่เอาเลย ไม่เขียน เพราะไม่มีเวลา เพราะไหนจะคอลัมน์ในกุลสตรี แล้วยังมีงานแปลที่ต้องทำให้กับสำนักนายก มีงานแปล มีงานเกี่ยวกับตรวจงานของกระทรวงมากมาย หลายอย่าง อ่านแล้วก็ตัดสินใจไม่ทำ 100 %"

"จากวันนั้น ผ่านไปได้เดือนหนึ่ง ระหว่างที่ดิฉันปฏิบัติธรรม เดินจงกรมอยู่ ก็รู้สึกมีเสียงมาบอกที่หูอาจเป็นจิตใต้สำนึกของตัวเองบอกว่า ต้องทำนะ เพราะว่างานนี้เป็นงานสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาก ดิฉันก็เลยตอบไปในใจว่าทำก็ทำ แต่ทำแล้วต้องชนะนะ แล้วดิฉันก็นั่งสมาธิต่อระหว่างนั่งก็คิดว่าเราจะเขียนอย่างนี้ ๆ นะ พอนั่งเสร็จก็เอากระดาษมาโน้ตไว้ว่าจะเขียนแบบนี้ ๆ ทุกอย่างไหลออกมาจากความคิด เพิ่งมารู้ทีหลังนะว่าที่เราเขียนไปมันเป็นกระบวนการของอริยสัจทั้งหมด มารู้หลังจากได้รางวัลแล้ว"

"พอโน้ตไว้แล้ว สองอาทิตย์ผ่านไปก็ยังไม่ได้ลงมือเขียน เพราะมีงานมาก แล้วพอจะเขียนจริง ๆ กลับหาโน้ตไม่เจอ ดิฉันก็ เอ้อ ไม่เจอก็ไม่เจอ ก็ลงมือเขียนไปเรีอย ๆ เสาร์ อาทิตย์บ้าง วันศุกร์บ้าง เขียนอยู่ประมาณหนึ่งเดือนก็เสร็จ แต่ก็ไปมีปัญหาเรื่องพิมพ์อีก เพราะคอมพิวเตอร์ติดไวรัส จนถอดใจแล้วว่าคงไม่ทันแล้ว แต่หลานชาย คือ ธรัช งามวงศ์ชน ก็จัดการแก้ไขให้จนเสร็จจนได้ ใช้ชื่อเรื่องว่า Creating Sustainable World Peace"

"ก่อนส่ง ดิฉันเอาต้นฉบับกับแผ่นดิสก์ ไปถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ท่านมองดู ไม่ได้อ่าน แล้วก็บอกว่า "เขียนหลายเรื่อง" พูดเท่านี้แล้วก็ไม่ได้ว่าอะไร ดิฉันก็ส่งไป การประกวดครั้งนี้มีคนส่งงานทั้งหมดประมาณ 300 กว่าเรื่อง แต่ทางเว็บเขาจะเลือกมาแค่ 30 เรื่อง ลงเฉพาะเนื้อหาให้อ่าน ให้คนโหวตว่าจะเชียร์เรื่องไหน มีเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับปิรามิดที่คนอ่านเชียร์มากที่สุด แต่ปรากฏว่าสุดท้ายเขาไม่ได้ตัดสินจากการโหวตหรอกนะคะ แต่มีกรรมการตัดสินจากหลายประเทศ ทุึกคนเป็น ดร. หมด มีชาวอเมริกัน 5 คน อินเดีย 1 คน บัลกาเรียน 1 คน บราซิล 1 คน ในเว็บไซต์เขาบอกจะประกาศผลเดือนมกราคม ดิฉันเข้าไปดูเรื่อย ๆ ก็ยังไม่เห็นสักที จนเดือนกุมภาพันธ์ก็ไปเจอว่าเขาตกลงเลือกให้งานเราชนะ"

"การตัดสินตามเกณฑ์ของเขาจริง ๆ คือจาก 30 เรื่อง เขาจะเลือกไว้ 3 เรื่อง ที่ดีที่สุด ให้เป็นสามสำนวน และจะให้นามคนเขียนว่าเป็น Rethinker แต่ปรากฏว่ากรรมการทั้งแปดคนลงคะแนนให้ดิฉันคนเดียวเลย เขาเลยประกาศว่าเลือกงานของดิฉัน งานเดียว ตอนนั้นดีใจมาก"

"แต่ตอนหลังมามีปัญหากันนิดหน่อยกับเรื่องการให้รางวัล ซึ่งกลายเป็นว่าดิฉันไม่ได้เงินทั้งหมดในคราวเดียวอย่างที่คิด ตอนแรกที่เกิดเรื่องขึ้น ดิฉันไม่พอใจมาก แต่มาคิดได้ภายหลังว่า งานเขียนชิ้นนี้ เราทำแล้วได้อะไร ดิฉันถือว่าดิฉันได้เผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทให้โดดเด่นขึ้นมาในโลก มีคนที่เขาได้อ่านแล้วเขาเขียนเมลมาหาดิฉัีน บอกวาเขาขอบคุณดิฉันมากเลยที่ทำให้เขาได้รู้จักวิถีของเถรวาท เพราะคนทั่วโลกจะรู้จักแต่นิกายมหายาน ซึ่งเน้นแต่สมาธิ ไม่ทำให้เกิดปัญญา ไม่ได้ตัดกิเลส เขาก็ขอบคุณในสิ่งที่ดิฉันทำ เพราะว่าไม่เคยมีใครเขียนหรือแปลงานแบบนี้ออกสู่โลกเลย พอดิฉันอ่านแล้วก็ภูมิใจมาก"

"ดิฉันก็มาทบทวนว่า อะไรคือสิ่งที่เราได้จากการทำงานนี้ คือ หนึ่ง เราได้เผยแผ่พระัพุทธศาสนา สอง เรามีชื่อเสียงไปทั่วโลก แล้วที่สำคัญคือเราทำให้คนเข้าใจพระพุทธศาสนาในแง่ที่พระพุทธเจ้าสอนจริง ๆ ในขณะที่สิ่งที่ดิฉันเสียไปคือเวลาในการเขียน กับค่าพิมพ์สองพันบาท ดังนั้นดิฉันก็ถือว่้าดิฉันได้สิ่งตอบแทนที่คุ้มค่าแล้ว"

สำหรับผู้ที่สนใจงานเขียนของ ดร. สุจิตรา อ่อนค้อม อาจารย์มีคอลัมน์ประจำและเขียนธรรมนิยายชุด สัตว์โลกย่ิอมเป็นไปตามกรรม ลงประจำอยู่นิตยสารกุลสตรี และถ้าอยากหาอ่านบทความของอาจารย์ที่ได้รับรางวัลระดับโลกแล้ว ก็คลิกเข้าไปดูได้ที่ http://www.rethinkers.org แต่ถ้าท่านไม่ชอบอ่านจาก Monitor จะหาซื้อฉบับเต็มมาอ่านก็ย่อมได้ มีจำหน่ายที่เอเชียบุคส์ มหาจุฬาบรรณาคาร มหามกุฏราชวิทยาลัย หรือจะสั่งซื้อที่ซีเอ็ดทุกสาขาก็ได้ ส่วนภาคแปลเป็นภาษาไทย เมื่ออ่านได้ในนิตยสารกุลสตรีแล้วก็อ่านฉบับรวมเล่มได้ใช้ชื่อแปลตามชื่อ ภาษาอังกฤษ ว่า การสร้างสันติภาพโลกแบบยั่งยืน
 


 
 
หลวงพ่อจรัญ ฟังธรรมะ
ลานธรรมจักร ปรึกษาปัญหาชีวิต
84000 พระธรรมขันธ์ มหาบาลีวิชชาลัย
มหาเถรสมาคม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
กระทรวงวัฒนธรรม  
งานเขียนของสุทัสสา
งานสอน
งานวิจัย
งานพิเศษ / ให้บริการแก่สังคม
บทสัมภาษณ์
© 2024 All Rights Reserved. sudassa.com | ข้อความแสดงลิขสิทธิ์